วิธีทำปุ๋ยหมัก แบบง่าย ๆ เปลี่ยนขยะให้มีประโยชน์!

394

การทำปุ๋ยหมักเองตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มแรก โดยทุกขั้นตอนจะไม่มีสารเคมีเข้ามาเป็นส่วนผสม เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถทำให้เรามั่นใจได้ว่าปุ๋ยที่เราใส่ลงไปเพื่อบำรุงพืชผักต่าง ๆ ที่เราปลูกนั้น จะมีความสดใหม่ ไร้ซึ่งสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบให้เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน การทำปุ๋ยนอกจากจะได้ใช้งานอย่างปลอดภัยโดยไร้สารเคมีแล้ว ยังสามารถนำเอามาเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันภายในครอบครัว หรือภายในชุมชมได้อีกด้วย การทำปุ๋ยโดยมีหลักการคือ เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช และ ให้พืชเลี้ยงเรานั่นเอง

รู้จักกับ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ คือการนำเอาสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ มาเป็นส่วนประกอบ โดยจะเน้นไปยังสารอาหารที่มาจากอินทรียวัตถุชนิดต่าง ๆ เช่น ซากพืช ใบไม้ มูลสัตว์ โดยจะนำมาผ่านกระบวนการหมักย่อยสลาย จนเกิดสารอาหารที่พืชต้องการ โดยปุ๋ยอินทรีย์ สามารถแบ่งออกเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งปุ๋ยแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ และสรรพคุณที่แตกต่างกัน ซึ่งทุกชนิดที่กล่าวไปล้วนมีสรรพคุณ คือ จะช่วยให้พืชผลเจริญงอกงามดี

เป็นเรื่องปกติของต้นไม้ทุกชนิดที่จะต้องการสารอาหารเพื่อนำเอามาเป็นส่วนสำคัญในการหล่อเลี้ยง และเจริญเติบโต เช่นเดียวกับต้องการแสงแดด และน้ำ หรือก็คือการที่ใส่ปุ๋ยลงไปในไร่นา แปลงผัก สวนสวย ไม่ว่าจะเป็นสวนประเภทไหน ก็ต้องการผลผลิตที่ดี เพราะฉะนั้นปุ๋ยอินทรีย์ เปรียบเสมือนโรงงานแปรสภาพธาตุอาหารที่ในดินให้กลับมาอยู่ในรูปของปุ๋ย ซึ่งรากพืช สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ “ปุ๋ย” กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วัสดุและอุปกรณ์ 

  • เศษอาหารแห้ง เช่น เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ 1 ส่วน
  • มูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า 1 ส่วน
  • ใบไม้ 1 ส่วน
  • ถังขนาด 20 ลิตร
  • ตาข่ายกันแมลง

วิธีทำ

  • ถังที่เลือกใช้จะเป็นถึงที่มีขนาด 20 ลิตร โดยจะทำการจาะรูไว้รอบถัง แล้วนำตาข่ายที่เอาไว้ดักจับแมลง มาพันรอบถังให้มิดชิด เพื่อช่วยระบายอากาศ และป้องกันแมลงรบกวน
  • นำเศษอาหารขนาดเล็ก และไม่มีน้ำ เอามาผสมคลุกเคล้าจนกายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยเป็นเศษอาหารประเภอ เศษข้าว เศษขนมปัง ก้างปลา เปลือกไข่ และเปลือกผลไม้ เข้ากับมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ม้า และเศษใบไม้ ในอัตรา 1:1:1 ส่วน
  • หลังจากคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ให้นำเอาฝามาปิดให้มิดชิด ไม่ให้แสงแดด หรืออากาศเข้าไป ถ้าหากวันต่อไปมีเศษอาหารเพิ่ม ก็นำมาเติมเข้าไปได้ แต่อย่าลืมผสมในอัตราส่วนเท่าเดิมด้วย
  • พลิกกลับส่วนผสมวันละ 1-2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน

เคล็ดลับ : โดยปกติในเศษอาหารมักจะมีความชื้นอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติมน้ำตลอดเวลาในช่วงแรก ให้สังเกตว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ปุ๋ยที่หมักเอาไว้มีความแห้งลงจนสังเกตได้ ก็ให้ทำการพรมน้ำเข้าไปเพียงเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นเพียงเท่านั้น โดยระยะเวลาในการหมักส่วนใหญ่แล้ว จะหมักเป็นเวลา 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักสีดำขนาดเล็ก ที่แห้งสนิทและไม่มีกลิ่นเหม็นไว้ใช้บำรุงต้นไม้แล้ว

การทำปุ๋ยไว้ใช้เอง ถือเป็นทางเลือกใหม่ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยการทำปุ๋ยที่ไม่พึ่งพาสารเคมี จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า ปุ๋ยที่เราใส่บำรุงพืชผักที่เราปลูกจะปลอดภัยแน่นอน ซึ่งอาจจะไม่ใช้แค่คนทำสวนเพียงเท่านั้น เพราะวิธีการทำปุ๋ยหมัก ก็มีหลายวิธี ที่มีสรรพคุณแตกต่างกันไป ซึ่งในบางครั้งก็อาจเป็นอีกหนึ่งรายได้เสริม ที่สามารถทำได้เช่นกัน