เสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนพื้นฐาน

430

เสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนพื้นฐาน ให้ครบถ้วน เพื่อลูกรักจะได้เติบโตมาอย่างแข็งแรง เพราะการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้กับลูกน้อยอย่างครบถ้วน ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญ ที่พ่อแม่ทุกคนไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นเหมือนการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กเพื่อป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่อาจรู้ตัว โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต่อการช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะในวัยนี้จะไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีพอที่จะต้านทานกับโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้

วัคซีนพื้นฐานที่ต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี

การเข้ารับการฉีดวัคซีนพื้นฐานก็เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันจากโรคภัยต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย โดยจะนับตั้งแต่ช่วงเวลาแรกเกิด ไปจนถึงมีอายุครบ 1 ขวบ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเราไม่รู้ว่าโรคต่าง ๆ จะมาจากตรงไหนบ้าง และยังเป็นขั้นตอนที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนจากกระทรวงสาธารณสุข ที่บอกเอาไว้ว่า เด็กไทยทุกคนจะต้องเข้ารับวัคซีนอย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันจากโรคต่าง ๆ โดยจะมีดังนี้

  • วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) : สำหรับวัคซีนเข็มนี้จะเป็นตัวช่วยในการเข้าไปกระตุ้นร่างกายโดยตรง เพื่อให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ และโรคที่เกิดจากไวรัสชนิดนี้ได้ โดยโรคดังกล่าวจะมี มะเร็งตับ และตับแข็ง โดยเด็กส่วนใหญ่แล้วควรได้รับวัคซีนชนิดนี้อย่างน้อย 3 เข็ม ที่แรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และเข็มสุดท้ายที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน สำหรับกรณีพิเศษ สำหรับเด็กที่เกิดมาจากคุณแม่ที่มีพาหะของไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งหลังจากที่ลูกน้อยเข้ารับวัคซีนชนิดนี้จนครบทั้ง 3 เข็มแล้ว ให้ไปตรวจภูมิคุ้มกันของตับอักเสบบีให้ละเอียดอีกหนึ่งรอบ โดยจะเป็นช่วงอายุประมาณ 9 เดือนถึง 1 ปี ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพื่อเป็นการยืนยันว่าลูกน้อยนั้นมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีจริง และยืนยันว่าไม่ติดไวรัสชนิดนี้ด้วย
  • วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน: สำหรับวัคซีนชนิดนี้เป็นอีกหนึ่งวัคซีนที่มีความสำคัญ โดยจะถูกแบ่งออกเป็นชนิดไอกรนทั้งเซลล์(DTwP) และไอกรนไร้เซลล์ (DTaP) โดยเป็นวัคซีนที่สามารถนำเอามาใช้แทนรูปแบบของชนิดไอกรนทั้งเซลล์(DTwP) ได้ทุกครั้ง โดยจะเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่จะตามมาหลายอย่างเช่น ไข้สูง ร้องกวน ตัวอ่อนปวกเปียกที่มักเกิดในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีนชนิดไอกรนทั้งเซลล์ได้ โดยที่จะเริ่มให้วัคซีนชนิดนี้ที่เด็กที่มีอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
  • วัคซีนฮิบ (Hib) : สำหรับวัคซีนชนิดนี้ จะเป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ Haemophilus Influenzae Type b ที่เป็นพานะในการก่อโรคในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยมักจะเป็นสาเหตุให้ก่ออาการที่รุนแรงขึ้นได้ตามลำดับ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด วัคซีนฮิบอยู่ในรูปแบบรวมกับวัคซีน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนตับอักเสบบี และโปลิโอชนิดฉีด โดยวัคซีนชนิดนี้ก็จะเริ่มฉีดให้แก่เด็กที่มีอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
  • วัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อตาย (IPV) : ในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้จะมีอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมเข็ม ที่ถูกรวมเข้ากับ DTaP โดยเป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสโปลิโอที่ตายแล้ว ซึ่งจะมีส่วนประกอบด้วยเชื้อโปลิโอที่สำคัญมากถึง 3 สายพันธุ์
  • วัคซีนป้องกันหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) : สำหรับวัคซีนชนิดนี้ จำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ดูแลก่อน เพราะในปัจจุบันมักจะแนะนำให้เริ่มฉีดเข็มแรกให้แก่เด็กที่มีอายุ 9 เดือน – 1 ปี เพราะการเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนหน้าเร็วเกินไป วัคซีนจะไม่สามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ เพราะเนื่องจากในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นจะยังคงมีภูมิคุ้มกันของแม่ที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในตัวลูกน้อย ที่เป็นสาเหตุในการขัดขวางการสร้างภูมิในตัวของเด็ก
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (Live-JE) : สำหรับวัคซีนชนิดนี้จะเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ที่จะส่งผลให้อ่อนฤทธิ์ลง โดยปกติแล้วมักจะเริ่มฉีดให้แก่เด็กที่มีอายุประมาณ 9 เดือน ถึง 1 ปี เนื่องจากการได้รับวัคซีนเข็ม 2 จะทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง และภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะอยู่ได้นานขึ้นภายในเด็ก จึงแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยฉีดกระตุ้นอีก1-2 ปี หลังจากเข็มแรก
  • วัคซีนโรต้า (Rota) : วัคซีนชนิดนี้ เป็นตัวที่แพทย์มักจะให้คำแนะนำโดยเฉพาะ เพราะเป็นตัวที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า ที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็กที่พบบ่อย โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการที่รุนแรงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทารก และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยที่ในปัจจุบันยังคงไม่มียารักษาที่สามารถนำเอามารักษาจำเพาะได้ แต่มีวัคซีนป้องกันเป็นแบบรับประทานชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ มีทั้งชนิดหยอด 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง
  • วัคซีนบีซีจี (BCG : Bacillus Calmette Guerin) : หนึ่งในวัคซีนที่มีความจำเป็นมากที่สุด นั่นก็คือวัคซีนป้องกันวัณโรค โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะฉีดให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยที่ภูมิต้านทานต่อเชื้อวัณโรคจะเกิดเต็มที่ประมาณ 2 เดือนหลังได้รับวัคซีน โดยที่มีประสิทธิภาพดีเป็นอย่างมากต่อการป้องกันวัณโรคระยะแรกในเด็ก โดยเฉพาะวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง และวัณโรคชนิดแพร่กระจาย โดยค่าเฉลี่ยในการป้องกันในครั้งนี้สามารถป้องกันได้สูงถึงร้อยละ 52-100 และสามารถป้องกันวัณโรคปอดในเด็กได้ร้อยละ 53 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เยอะมากเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันมีโรคต่าง ๆ ที่เกิดใหม่ขึ้นมามากมาย นอกเหนือจากการพาลูกน้อยเข้ารับวัคซีนพื้นฐานให้ครบถ้วนแล้ว การเข้ารับการฉีดวัคซีนทางเลือกก็ถือว่าเป็นตัวที่มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เหมือนกัน ทั้งนี้การเลือกเข้ารับการฉีดวัคซีนเสริม ก็สามารถพิจารณาได้จากโรคที่ต้องการป้องกัน ว่าวัคซีนชนิดนั้น ๆ สามารถพบเจอได้มากน้อยขนาดไหน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่ต้องการได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเลยคือมีความปลอดภัยมากแค่ไหน โดยการเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลย่างละเอียดก่อนเข้ารับวัคซีนทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยสูงสุด