นาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) คืออะไร

396

ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมจากนักวิทยาศาสตร์และได้พบว่าสิ่งมีชีวิตมีระบบที่สำคัญในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน เปรียบเสมือนนาฬิกาชีวภาพ (biological clock) ในมนุษย์ โดยที่ระบบดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่มีอยู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกาย โดยจะเป็นการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น หรือก็คือให้ร่างกายรู้สึกถึงข่วงเวลา มืด และสว่าง เพื่อเป็นการควบคุมระดับอุณหภูมิภายในร่างกาย และรวมไปถึงการควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เพราะถ้าหากระบบนาฬิกาชีวภาพเป็นปกติ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล ส่งผลโดยตรงให้สุขภาพร่างกายของทุกส่วนเป็นปกติ

ระบบนาฬิกาชีวภาพ

โดยระบบนาฬิกาชีวภาพ ถือเป็นระบบที่สำคัญที่จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยจะทำหน้าที่เป็นโดยมีศูนย์ควบคุมวงจรการหลับ-ตื่นอยู่ภายในร่างกาย โดยจะตั้งอยู่ที่ Suprachiasmatic nucleus (SCN) ของสมองส่วนไฮโปธารามัส (Hypothalamus)

โดยมีการศึกษาพบคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถสร้างจังหวะการทำงานขึ้นมาได้เอง และถูกตั้งค่าใหม่ได้โดยแสงสว่าง ซึ่งในช่วงปกติเวลาที่ความสว่างจะเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) ซึ่งจะเป็นตัวที่รับแสง และเกิดปฏิกิริยาโดยตรง และจะทำการส่งสัญญาณไปยัง SCN โดย SCN นี่แหละที่จะแปรสำคัญในการส่งสัญญาณไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง ที่จะเป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย  หากช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเช้าก็จะมีการส่งสัญญาณโดยตรงเพื่อให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และชะลอการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin)

และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายมีการตื่นตัว และพร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงมือ ที่ถือว่าเป็นช่วงที่จอประสาทตาหรือเรตินา ที่ได้รับแสงน้อยลง ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ก็จะทำการหลั่งฮอร์โมนออกมาชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ เมลาโทนิน (Melatonin) โดยจะหลั่งออกมามากขึ้น  และ SCN จะแปรสัญญาณส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนอนหลับ โดยที่ในช่วงเวลานี้ จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิ และความดันโลหิตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะมีผลโดยตรง เพราะจะอาศัยในช่วงเวลาที่นอนหลับเพื่อทำการซ่อมแซม ฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ จัดระเบียบความคิด ความจำในด้านต่าง ๆ ทำให้ร่างกายสามารถดำเนินกิจกรรมในเวลาต่อมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาวะอารมณ์ที่ดี

การในชีวิตประจำวันนั้นก็มีหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่ออิทธิพลที่ทำให้นาฬิกาชีวภาพผิดปกติไปได้ อาจจะทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัวก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ด้านสรีรวิทยา ด้านสิ่งแวดล้อม และรวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม โดยนาฬิกาชีวภาพที่ผิดปกติจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพราะฉะนั้นจงรู้จักวิธีจัดการอย่างถูกต้อง เพราะสิ่งต่าง ๆ สามารถซ่อมแซมได้ ถ้าหากเลือกเวลาที่เหมาะสม