ยาแก้อักเสบ เป็นยาปฏิชีวนะที่จัดเป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อช่วยในการลดความบรรเทาจากอาการที่เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อภายในร่างกาย มีผลออกฤทธิ์เร็ว มีผลช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุการอักเสบต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยยาแก้อักเสบที่นิยมนำมาใช้บรรเทาอาการ และมีขายปกติทั่วไปตามท้องตลาด
จะเป็นยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) หรือที่เรียกกันว่าเอ็นเสด ที่สามารถหาซื้อได้ตามปกติ และผู้ป่วยบางกลุ่มที่จะต้องใช้ยาเฉพาะ โดยจะต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาค่อนข้างเร็วและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแก้อักเสบชนิดมีสเตียรอยด์ จึงถูกนำมาใช้รักษาการอักเสบอย่างแพร่หลาย
เมื่อไรต้องใช้ยาแก้อักเสบ ?
ยาแก้อักเสบโดยทั่วไป ที่นำเอามารับประทาน มักจะถูกใช้เพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับอาการต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับยาแก้ปวดที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของยาพาราเซตามอล ที่มีสรรพคุณช่วยให้สามารถ ลดไข้ ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อหรือเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน และปวดหลังการผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งมักเป็นยาชนิดรับประทานที่ใช้ติดต่อกันไม่นาน
คำแนะนำในการใช้ยาแก้อักเสบ
- การเลือกใช้ยาแก้อักเสบแต่ละชนิด จะขึ้นอยู่กับอาการ และชนิดของโรคต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป โดยการใช้ยาแก้อักเสบทุกครั้ง ควรแจ้ง และขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพเสียก่อน เพราะผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาต่าง ๆ เช่น ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคตับหรือโรคไต รวมถึงหากกำลังรับประทานยาเฉพาะ หรือวิตามินเสริมใด ๆ อยู่ เพราะยาแต่ละชนิดจะมีการปฏิกิริยาที่ส่งผลโดยตรงต่อกัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและส่งผลกระทบต่ออาการป่วยของตน
- คำแนะนำสำหรับผู้หญิง และเด็ก ที่เป็นกลุ่มที่มาภาวะข้างเคียงเกิดขึ้นมากที่สุด ก่อนจะทานยาแก้อักเสบทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังวางแผนจะมีบุตร สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ที่เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรใกล้บ้านก่อนรับประทานยาทุกครั้ง เพราะยาแก้อักเสบชนิดที่หาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด หรือแพทย์สั่งจ่ายบางชนิด มีส่วนสำคัญที่อาจเกิดอันตรายต่อทารกภายในครรภ์ได้ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน เพราะอาจส่งผลเสียต่อตับหรือสมอง และอาจนำไปสู่กลุ่มอาการ (Reye’s Syndrome) ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักในการใช้ยาแต่ละชนิด ว่าเหมาะแก่โรคที่กำลังเป็นอยู่หรือเปล่า เพราะยาแต่ละชนิด อาจจะมีรูปลักษณ์ที่เหมือนกัน หรือคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบหรือมีภาวะอักเสบอื่น ๆ ควรรับประทานยาแก้อักเสบมากกว่ายาพาราเซตามอล เพราะยาพาราเซตามอลไม่ได้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
ทั้งนี้ การใช้ยาทุกชนิดหากเกิดอาการข้างเคียง หรือมีผลที่ทำให้ หายใจลำบาก มีอุจจาระสีดำ อาเจียนออกมาเป็นเลือด เป็นสีดำ หรือสีคล้ายกาแฟ แน่นหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด อาการเหล่านี้คือผลข้างเคียงที่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ให้ควรหยุดทานยาชนิดนั้นที และรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการอย่างชัดเจนอีกครั้ง