ประโยชน์ของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ สร้างสมดุล ไม่เจ็บป่วย

3

หลายคนคงเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับด้านสุขภาพว่า หากเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ซึ่งหลายคนก็จะนิยมทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดีผสมอยู่ เช่น นมเปรี้ยวที่ผสมจุลินทรีย์ แล้วก็รับประทานอาหาร แล้วทราบไหมว่าจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีกี่แบบ และมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (GUT MICROBIOME) คืออะไร 

ในร่างกายของคนเรามีเซลล์ของจุลินทรีย์ถึง 100 ล้านล้านเซลล์ ที่จะกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งในบริเวณช่องปาก ช่องคลอด ระบบทางเดินอาหาร และผิวหนัง เป็นต้น ระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนของลำไส้ เป็นจุดที่มีจุลินทรีย์มากที่สุด โดยมีเซลล์จุลินทรีย์กว่า 5,000 ชนิด ประกอบไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต ทั้งหมดอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล ร่างกายก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรค เนื่องจากจุลินทรีย์บางชนิดมีส่วนช่วยในการป้องกันโรค เสริมระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการเผาผลาญ ย่อยอาหาร หรือมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ 

ประเภทของจุลินทรีย์ 

จุลินทรีย์มีอยู่ด้วยกันมากมาย จึงมีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และโทษ จุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ 

1.จุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย 

จุลินทรีย์บางชนิดให้โทษแก่ร่างกาย สามารถสร้างสารพิษและก่อให้ร่างกายเกิดโรคต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วย  

2.จุลินทรีย์ชนิดดี 

จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เอาไว้ยับยั้งและป้องกันแบคทีเรียตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโรค เช่น Lactobacillus หรือ Eubacteria / Bifidobacteria  

ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยดูดซึมสารอาหาร และสังเคราะห์สารอาหารที่เป็นประโยชน์ 

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย 

จุลินทรีย์มีประโยชน์มากมายหลายประการ โดยเฉพาะ โพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่อาศัยอยู่มากในลำไส้ใหญ่  

1.สร้างกรดแล็กทิก (lactic acid) ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค 

2.ลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด เช่น ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) 

3.ผลิตกรดอินทรีย์ที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานปกติ 

4.เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในกระบวนการย่อยอาหาร 

5.ผลิตวิตามินชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน B1, B2, B6, B12 และ biotin (วิตามิน H) 

6.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 

7.ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เซลล์บุผนัง เพื่อป้องกันแบคทีเรียชนิดไม่ดีเข้าสู่กระแสเลือด 

8.เพิ่มการเผาผลาญของร่างกาย 

9.ช่วยในการดูดซึมสารอาหารและยา 

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีทั้งดีและไม่ดี หากเราอยากมีสุขภาพแข็งแรงควรรักษาสมดุล และเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่เป็นประจำ ร่างกายจะได้แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย